top of page
12 สังคมของสัตว์.png
Social Behavior ของสัตว์

พฤติกรรมทางสังคมของสัตว์ ( Social Behavior ) 

    สัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่ เป็นสังคม มีความจำเป็นจะต้องสื่อสารติดต่อกัน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสัตว์ ตัวสองตัวขึ้นไปโดยปกติจะเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน ร่วมมือในพฤติกรรมทางเพศ หรือความเป็นพ่อแม่ที่มีส่วนร่วมในเรื่องอาณาเขต และการเข้าถึงเพื่อน หรือเพียงแค่สื่อสารกันพฤติกรรมที่สัตว์ใช้สื่อสารมีหลายวิธี

1. การสื่อสารด้วยท่าทาง ( Visual Signal ) 

เป็นท่าทางที่สัตว์แสดงออกมา อาจจะเป็นแบบง่ายๆ หรืออาจมีหลายขั้นตอนที่สัมพันธ์กัน เช่น
- การเต้นระบำของผึ้งเพื่อบอกแหล่ง และปริมาณของอาหาร ถ้าแหล่งอาหารอยู่ใกล้ จะเต้นเป็นรูปวงกลม แต่ถ้าแหล่งอาหารอยู่ไกล จะเต้นคล้ายรูปเลขแปด และมีการส่ายก้นไปมาด้วย โดยถ้าส่ายก้นเร็ว แสดงว่าปริมาณอาหารมีมาก

- การแยกเขี้ยวของแมว

2. การสื่อสารด้วยเสียง ( Sound Signal) 

เสียงของสัตว์ที่เปล่งออกมาในแต่ละครั้ง จะแสดงถึงการตอบสนองสิ่งเร้าต่างๆ และสื่อความหมายที่แตกต่างกัน เช่น

- เสียงที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม เช่น เสียงของนกร้อง ไก่ แกะ และกระรอก 

- เสียงแสดงความโกรธ เช่น เสียงร้องของแมว สุนัข และช้าง

 

3. การสื่อสารด้วยการสัมผัส ( Physical Contract ) 

เป็นการสื่อสารโดยใช้อวัยวะส่วนใด ส่วนหนึ่งสัมผัสกับสัตว์พวกเดียวกัน หรือต่างพวกกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมโต้ตอบกัน การสัมผัสเป็นการสื่อสารที่สำคัญอย่างหนึ่งของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การสัมผัสจะเป็นการถ่ายทอดความรัก และมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของลูกอ่อน ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น และปลอดภัย เช่น 
- สุนัขเข้าไปเลียปากสุนัข ตัวที่เหนือกว่า เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นมิตร หรืออ่อนน้อม
- ลิงชิมแพนซียื่นมือให้ลิงตัวที่มีอำนาจเหนือกว่าจับในลักษณะหงายมือให้จับ
- ลูกนกนางนวลบางชนิดใช้จะงอยปากจิกที่จะงอยปากของแม่นกเพื่อขออาหาร

4. การสื่อสารด้วยสารเคมี ( Chemical Signal ) 

สัตว์หลายชนิดใช้สารเคมีที่เรียกว่า ฟีโรโมน ( Pheromone ) ซึ่งเป็นสารเคมีที่สัตว์สร้างขึ้น เมื่อหลั่งออกมาภายนอกร่างกาย จะมีผลต่อสัตว์อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ได้ เช่น
- ดึงดูดเพศตรงข้าม เช่น การที่ผีเสื้อกลางคืนตัวเมียหลั่งสารเคมีออกมา เพื่อให้ดึงดูดผีเสื้อกลางคืนตัวผู้ที่อยู่ห่างหลายกิโลเมตร ให้บินมาหาได้ หรือการที่ชะมดหลั่งสารเคมีที่ดึงดูดเพศตรงข้ามได้
- บอกอาณาเขต เช่น กวางบางชนิดจะแตะสารเคมีกับต้นไม้ เพื่อบอกอาณาเขต และการที่เสือดาวหรือสุนัขถ่ายปัสสาวะไว้ ในที่ต่างๆ เพื่อบอกอาณาเขต
- นำทาง เช่น การหาอาหารของมด มดจะใช้ปลายท้องแตะที่พื้นแล้วปล่อยสารเคมีออกมาเป็นระยะๆ ทำให้มดตัวอื่นๆ ติดตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูก

 

    สัตว์มีพฤติกรรมทางสังคมกันทุกตัว โดยการทำพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เปรียบเหมือนการสื่อสาร พูดคุยกัน เหมือนมนุษย์ หรือเป็นพฤติกรรมที่เขา พยายามจะสื่อสารกับเรา ดังนั้นมนุษย์อย่างเราที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงอย่างเช่น สุนัข แมว จึงควรศึกษาเรียนรู้พฤติกรรมของสัตว์ไว้

ติดต่อสอบถามได้ที่

Tel : 085-9999698

Line official : @wtlvet คลิกลิงก์ https://lin.ee/mMSiWa4

Map : https://maps.app.goo.gl/FR3StzyLNSowNHNVA

Facebook : โรงพยาบาลสัตว์วุฒิเลิศการุณ เปิด 24ชม ระยอง รักษาสัตว์ 

https://www.facebook.com/WTLVET

bottom of page